เกร็ด การศึกษา ใน เวียดนาม
โดย ทีมวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) | 26 มิถุนายน 2549 09:10 น. |
อาจารย์สมปอง ใจดีเฉย อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เขียนถึงการศึกษาวิชาชีพครูในประเทศเวียดนาม โดยตั้งข้อสังเกตดังนี้ |
1. ในขณะที่หลักสูตรการผลิตครูในประเทศเวียดนามนั้นเป็นหลักสูตร 4 ปี นักศึกษาต้องเรียนอย่างน้อย 221 หน่วยกิต แต่หลักสูตรการผลิตครูของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นหลักสูตร 5 ปี โดยที่นักศึกษาจะต้องเรียนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 160 หน่วยกิต (แตกต่างกันไปในแต่ละสถาบันการศึกษา) แบ่งเป็นเรียนวิชาศึกษาทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาเอก เป็นเวลา 4 ปี และฝึกสอนอีก 1 ปี ด้วยมุ่งหวังว่านักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูจะมีความรู้ในวิชาเอกเพิ่มขึ้น และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ไปยังลูกศิษย์ได้เป็นอย่างดี เมื่อเปรียบเทียบการผลิตครูระหว่าง 2 ประเทศ จะเห็นว่า มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง (แนวคิดของนักการศึกษาไทยกับเวียดนามมีความแตกต่างกัน) โดยตั้งข้อสังเกตุว่าทำไมเวียดนามจึงจัดการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตครูได้ทั้ง ๆ ที่ต้องเรียนถึง 221 หน่วยกิต ภายในเวลา 4 ปี นิสิต นักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูในเมืองไทยเดิมเรียนหลักสูตร 4 ปี และเรียนเพียง 140 -144 หน่วยกิตเท่านั้น นักศึกษาไทยมีเวลาว่างมาก บางวันเรียนไม่กี่รายวิชา บางวันไม่มีเรียน (โดยเฉพาะเทอมแรกของปี 4) นักศึกษาเหล่านั้นเอาเวลาว่างไปทำอะไร? ที่ไหน อย่างไร .... แต่นักศึกษาของเวียดนามใช้เวลาเกือบทั้งหมดอยู่กับการเรียน ในเมือง (ฮานอย) ไม่มีห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ไม่มีโรงภาพยนตร์และสถานที่ท่องเที่ยว รวมไปถึงสิ่งยั่วยวน /ชักจูงเยาวชนไม่มีมากมายเหมือนเมืองไทย ประกอบกับการที่พวกเขาจะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เพราะไม่ต้องการที่จะมีชีวิตที่ยากลำบากเหมือนคนรุ่นพ่อแม่และต้องการมีโอกา สทำงานในวันข้างหน้า นอกจากนี้จะเห็นว่าในปีสุดท้ายของการศึกษาของนักศึกษาครูในเวียดนามจะต้องทำ โครงการวิจัย 10 หน่วยกิต ในขณะที่นักศึกษาครูของไทยทำแค่งานวิจัยในชั้นเรียนหรือ Case Study เท่านั้น (รวมอยู่ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ) ชี้ให้เห็นว่าความเข้มข้นของการศึกษาต่างกันมาก และเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในระดับปริญญาโทของเมืองไทย พบว่า หลักสูตรปริญญาโทของเมืองไทยในหลายสถาบันเป็นหลักสูตรที่ไม่ต้องทำวิจัย บางหลักสูตรทำเพียงสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต บางหลักสูตรทำวิทยานิพนธ์12 หน่วยกิต แต่นักศึกษาครูระดับปริญญาตรีของเวียดนามต้องทำวิจัยถึง 10 หน่วยกิต เป็นผลให้นักศึกษาครูของเวียดนามเมื่อจบการศึกษาไปแล้วสามารถเป็นได้ทั้งนัก การศึกษา นักวิจัยและครูที่มีคุณภาพสูง 2. ในช่วงปิดภาคเรียนของทุกปี คณาจารย์ของแต่ละคณะวิชาจะมีโครงการ/โปรแกรมออกไปช่วยผลิต/จัดทำเอกสาร บทความ และหนังสือประกอบการเรียนให้กับสถาบันการศึกษาในชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลความ เจริญ ซึ่งนักศึกษาวิชาชีพครูได้มีโอกาสในการฝึกประสบการณ์ด้วย ในเมืองไทยมีกิจกรรมลักษณะนี้น้อยมาก กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นค่ายอาสาพัฒนาของนิสิตนักศึกษานั้น 3.ทุกวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปี ถือว่าเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ของผู้ประกอบวิชาชีพครูและนักการศึกษาของเวียดนาม ทางคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์จะจัดกิจกรรมการแข่งขันของนักศึกษาวิชาชีพครูปร ะจำปีขึ้น โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นมีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านวิชาชีพครูทั้งสิ้น เช่น การแข่งขันเกี่ยวกับการวางแผนยุทธศาสตร์การสอนและการจัดการเรียนรู้ การแข่งขันทักษะและความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู การแข่งขันดังกล่าวจะช่วยให้นักศึกษาวิชาชีพครูในชั้นปีสุดท้ายมีความเชื่อม ั่นในตนเองและเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาวิชาชีพครูด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระหว่างการแข่งขันซึ่งจะ เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวนักศึกษาและคณาจารย์ อันจะส่งผลให้เกิดการปรับปรุงการเรียนการสอน/การผลิตนักศึกษาครูให้ดียิ่งขึ ้น สำหรับประเทศไทยมีกิจกรรมในลักษณะนี้หรือไม่ ?
ที่มา
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น