วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

เยือนเวียดนาม ดูการผลิต ครู อาชีพที่ได้รับความนิยม


เยือน เวียดนาม ดูการผลิต ครู อาชีพ ที่ได้รับ ความนิยม
โดย ทีมวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)19 มิถุนายน 2549 09:44 น.
       ป ระเทศเวียดนามถูกปกครองภายใต้ระบบสังคมนิยม และประชาชนผ่านความบอบช้ำทางร่างกายและจิตอย่างสลดหดหู่ ไม่ว่าจะเป็นสงครามเวียดนาม การรวมชาติระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ การถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่นจีน ฝรั่งเศส และอเมริกา รวมทั้งยังทิ้งผลพวงจากสงครามมายังผู้คนรุ่นปัจจุบันโดยเฉพาะความพิการ ด้วยเหตุนี้เองทำให้รัฐบาลเวียดนามต้องเร่งพัฒนาและฟื้นฟูประเทศทุกรูปแบบอย ่างเร่งด่วน และประเทศเวียดนามเองก็เหมือนกับหลายๆ ประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน เพราะเขาเชื่อว่าทรัพยากรบุคคลจะเป็นกลจักรสำคัญในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ได้
       

       จะพบว่า เด็ก เยาวชนและประชาชนเวียดนาม ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากในทุกๆ วันหลังเลิกเรียนเด็กๆ ไม่ว่าจะเรียนชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จะเรียนพิเศษกันเกือบทุกคน จากการพูดคุยกับร้อยเอกมาย ก๊อก เวียต ทหารผ่านศึกษาสงครามเวียดนาม ได้คำตอบว่า การที่คนเวียดนามให้ความสำคัญกับการศึกษามาก เพราะคนเวียดนามเห็นว่า ถ้าลูกๆ ไม่มีความรู้ก็จะไม่มีโอกาสได้ทำงานที่ดี ไม่มีโอกาสได้รับเงินเดือนดีๆ เป็นได้ก็แค่เกษตรกร (ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรถึง 80% ) ตัวอย่างเช่นตัวเขาเองและเพื่อนๆ หลังจากสงครามเลิกก็เลิกเป็นทหาร แต่หางานทำอะไรไม่ได้เพราะไม่มีความรู้ เป็นได้ก็แค่พนักงานรักษาความปลอดภัย ส่วนภรรยาและพ่อแม่ก็ทำไร่ ทำนา เป็นความน้อยใจอย่างยิ่งที่ทหารอย่างพวกเขาที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในสมรภูมิรบ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการรวมชาติเวียดนามได้ แต่ในวันนี้กลับไม่มีคุณค่าแล้ว เพราะประเทศกำลังพัฒนา มีการก่อสร้าง มีหน่วยงานและบริษัทต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย หน่วยงานเหล่านี้ต้องการบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้าน ดังนั้นคนเวียดนามจึงต้องการให้ลูกๆ ได้รับการศึกษาจะได้ไม่เป็นเช่นคนรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และเด็กๆ เองก็คิดเหมือนพ่อแม่เช่นกัน ส่งผลให้เด็กๆ ในเวียดนามขวนขวายหาความรู้กันอย่างมาก เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ และจบออกมาทำงานดีๆ การสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยเวียดนามจึงเข้มข้นไม่ต่างจากเมืองไทยนัก
       
       เมื่อไปดูการผลิตครูในเวียดนาม โดยใช้กรณีศึกษา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม และฮานอย พบว่าอาชีพหนึ่งที่คนเวียดนามอยากให้ลูกๆ ประกอบอาชีพนั่นก็คือ “อาชีพครู”ต่างจากเมืองไทยราวฟ้ากับดิน การผลิตครูในคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม เกิดความร่วมมือระหว่างคณะวิชา/วิทยาลัยต่างๆ ของมหาวิทยาลัยกับคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ซึ่งคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้สอนใน 6 วิชาเอกได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ และอักษรศาสตร์ โดยนักศึกษาที่เรียนในคณะนี้ต้องเรียนเป็นระยะเวลา 4 ปี หน่วยกิจรวมอย่างน้อย 221 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาการศึกษาทั่วไป จำนวน 63 หน่วยกิต วิทยาศาสตร์พื้นฐานจำนวน 107 -110 หน่วยกิต และวิชาชีพครูจำนวน 48 หน่วยกิต ซึ่งวิชาชีพครูนั้นประกอบด้วย วิชาพื้นฐานการศึกษาจำนวน 22 หน่วยกิต โครงงานวิจัย จำนวน 10 หน่วยกิต การฝึกสอนจำนวน 6 หน่วยกิต โดย 3ปีแรกของการเรียนนักศึกษาจะต้องแยกไปเรียนวิชาเอกที่คณะวิชา /วิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยาลัยวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จากนั้นในปีสุดท้ายพวกเขาจะมาเรียนที่คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ซึ่งส่วนใหญ่ จะเกี่ยวข้องกับวิชาจิตวิทยา วิธีสอน วิธีจัดการเรียนรู้ เทคโนโลยีการศึกษา การจัดการและการเป็นผู้นำทางการศึกษา การอุดมศึกษา การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน
       
       ยิ่งได้ดูหลักสูตรการผลิตครูในประเทศเวียดนามแม้จะเรียนด้วยหลักสูตร 4 ปี แต่นักศึกษาต้องเรียนอย่างน้อย 221 หน่วยกิต ขณะที่หลักสูตรการผลิตครูของประเทศไทยในปัจจุบันเรียนด้วยหลักสูตร 5 ปี โดยนิสิต นักศึกษาต้องเรียนอย่างน้อย 160 หน่วยกิต (แตกต่างกันไปในแต่ละสถาบัน)แบ่งเป็นเรียนวิชาศึกษาทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาเอกเป็นเวลา 4 ปี และฝึกสอนอีก 1 ปี ด้วยมุ่งหวังว่านิสิต นักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูจะมีความรู้ในวิชาเอกเพิ่มขึ้น และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ไปยังลูกศิษย์ได้ เมื่อเปรียบเทียบการผลิตครูของทั้ง 2 ประเทศ จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ที่มา manager.gif 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น