วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

รายชื่อสมาชิก


นายณัฐพงษ์            จันทรา                 รหัสประจำตัวนิสิต 54105010060
นางสาวพิมพ์กัญญ์  วิทยา                    รหัสประจำตัวนิสิต 54105010070
นางสาวพิราภรณ์     วิวัฒน์เจริญกิจ     รหัสประจำตัวนิสิต 54105010071
นายวศุเมศร์              ภัทรชัยวิสิทธิ์      รหัสประจำตัวนิสิต 54105010077
นางสาวธัญญาวรรณ รอดแก้ว              รหัสประจำตัวนิสิต 54105010104
นางสาวธัญทิพย์       ติลังการณ์            รหัสประจำตัวนิสิต 54105010105
นางสาวพชรพร        วิโรจน์กูลทอง     รหัสประจำตัวนิสิต 54105010115
นางสาวมุกดา           จอมสูงเนิน          รหัสประจำตัวนิสิต 54105010123
นางสาวสุธาสินี       ชื่นตา                    รหัสประจำตัวนิสิต 54105010136

นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ เอกจิตวิทยาการแนะแนว

เสนอ
อาจารย์ ดร.สกล  วรเจริญศรี
ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา

สื่ออิเลกทรอนิกส์นี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา สารสนเทศเพื่อการแนะแนว (GU 111)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทริโรฒ ภาคเรียนที่ 2/2554

เกร็ด การศึกษา ใน เวียดนาม (จบ)


เกร็ด การศึกษา ใน เวียดนาม(จบ)
โดย ทีมวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)3 กรกฎาคม 2549 09:16 น.

บางเรื่องราวที่น่าสนใจของประเทศเวียดนาม ยังคงผ่านสายตา แนวคิด มุมมองของ อาจารย์สมปอง ใจดีเฉย อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์นำมาบอกเล่าเป็นเกร็ดการศึกษาในเวียดนามโดยเฉพาะในเรื่องการผลิตครูของที่นั่นกันต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

ในหัวข้อที่ 4 ตั้งข้อสังเกตว่า นักศึกษาของแต่ละภาควิชาจะมีโอกาสได้ฝึกทำกิจกรรมในสถานการณ์จริง ทำให้พวกเขาได้รับประสบการณ์ตรงมากมาย ได้แบ่งปันประสบการณ์ ได้ฝันฝ่าอุปสรรค และค้นพบความสามารถ ความสนใจของพวกเขาเอง โดยเฉพาะการเตรียมตัวสำหรับชีวิตในอนาคต สำหรับกิจกรรมที่พวกเขาได้ฝึกประสบการณ์ ได้แก่ การสัมมนา การอบรมเชิงปฏิบัติการ การฝึกทำงานวิจัยอย่างเข้มข้น และการฝึกความเป็นผู้นำ ดังนั้น นักศึกษาเวียดนามจึงได้ผ่านกระบวนการฝึกและการตัดสินใจ รวมทั้งจิตสำนึกสาธารณะ ผ่านการทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ และปัจจัยเหล่านี้เองอาจเป็นเหตุผลให้เด็กไทยต่างจากเด็กเวียดนามก็เป็นได้

5.ในแต่ละปีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม จะรับนักศึกษาวิชาชีพครูเพียงเอกละ 15 คน/ปีเท่านั้น และสิ่งนี้เองที่อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การผลิตนักศึกษาวิชาชีพครูเป็นไปอย่างเข้มข้น และสามารถคัดเลือกเด็กที่ต้องการมาเรียนครูได้อย่างแท้จริง ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ค่านิยมของสังคมไทยยังไม่เห็นความสำคัญของวิชาชีพครู โดยเด็กส่วนใหญ่ที่เข้าเรียนในคณะวิชาอื่นไม่ได้มักจะมาเรียนวิชาชีพครูแทน ทำให้ประเทศไทยเราไม่ได้ครูที่เป็นแก่นครู มีจิตวิญญาณครู และมักจะกระทำผิดจรรยาบรรณครูตามที่เป็นข่าวอยู่เสมอ ประกอบกับประเทศไทยเรามีสถาบันการผลิตครูจำนวนมาก ทำให้นักศึกษาที่จบการศึกษาด้านวิชาชีพครูมีมากแต่ตำแหน่งบรรจุมีจำนวนจำกัด รวมทั้งมาตรฐานและคุณภาพของแต่ละสถาบันก็แตกต่างกัน เป็นผลให้นักศึกษาวิชาชีพครูต้องตกงานหรือทำงานไม่ตรงกับปริญญาที่ได้รับเป็นจำนวนมาก
สำหรับประเทศไทย การผลิตครูโดยให้ทุนกับเด็กๆ ( ครู 5 ปี) เป็นวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องและได้ผลจริงหรือ ? เด็กเหล่านั้นต้องการเป็นครูจริงหรือ?หรือเพียงแต่ว่าขอให้มีทุนเรียนและมีอาชีพรองรับเท่านั้น? อาจารย์ผู้สอนพวกเขาคงจะตอบได้ในเบื้องต้น...

6.สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยในเวียดนาม เช่นมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม มักจะทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมากมาย ทั้งนี้เพื่อส่งบุคลากรของตนเองไปศึกษาดูงานและทำวิจัยร่วมกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกัน ตลอดจนนำความรู้ใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาการศึกษาให้เหมาะกับบริบทของประเทศตนเอง รวมทั้งยังมีโปรแกรมการพัฒนาอบรมครูทั้งระยะสั้นและระยะยาวมากมาย

7.ประเทศเวียดนามมีโรงเรียนสอนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ Gifted School ในด้านต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์ กระจายอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่เยาวชนเวียดนามจะคว้าแชมป์และเข้ารอบลึกๆ ของการแข่งขันความสามารถทางวิชาการในระดับเอเชียและระดับโลก เช่นการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU ROBOT CONTEST ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพในปี 2004 ซึ่งมีเยาวชนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมแข่งขันมากมาย และผลการแข่งขัน พบว่า เยาวชนเวียดนามเป็นผู้คว้าชัยชนะการแข่งขันเหนือจากประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียด้วยกัน นอกจากนี้ผลการแข่งขันความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ของเยาวชนเวียดนามก็จัดว่าอยู่ในระดับแถวหน้าของเอเชียเช่นกัน
ถ้าเราหันกลับมาพิจารณาในประเทศไทยของเราบ้าง จะพบว่า มีโรงเรียนสอนเด็กที่มีความสามารถพิเศษกี่แห่ง ? เด็กๆ ได้รับทุนการศึกษาจากโครงการต่างๆ ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน หลังจากที่จบการศึกษาไปแล้วมีบทบาทต่อการพัฒนาทางด้านการศึกษาไทยอย่างไร? มีบทบาทต่อการพัฒนาสังคมไทยมากแค่ไหนและอย่างไร?

8. ประเทศเวียดนามปลูกฝังเยาวชนให้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชาติ ความรักชาติ บุคคลสำคัญของชาติตั้งแต่ในวัยเยาว์ โดยการให้ครูพาเด็ก ๆ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษาไปเข้าแถวเคารพศพ “ลุงโฮห์” (อดีตประธานาธิบดีโฮจิมินห์ บุคคลสำคัญที่ทำให้ชาวเวียดนามมีความเป็นชาติมาถึงทุกวันนี้) เปรียบเสมือนเป็นการเปิดโลกนอกรั้ว ... พาน้องไปเรียนรู้ นับเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งในการปลูกฝังความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ให้กับเยาวชน
สำหรับประเทศไทยเราก็มีคำถามที่ว่าทำอย่างไรโรงเรียนจึงจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ลักษณะนี้ได้บ้าง เพราะอย่างน้อยเยาวชนไทยที่กำลังหลงใหลวัฒนธรรมต่างชาติก็จะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยได้ มิใช่ต้องไปศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยจากแกสารหรือตำราเท่านั้น และสิ่งที่น่าประทับใจอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างพิพิธภัณฑ์บุคคลสำคัญของชาติ เช่นพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์ ที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับท่านโฮจิมินห์ตลอดชั่วชีวิตของท่าน ซึ่งประเทศไทยของเราถ้ามีพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อพสกนิกรชาวไทยตั้งแต่สมัยสุโขมัยถึงรัชกาลปัจจุบันจะเป็นการดีไม่น้อย โดยรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ และพระราชกรณียกิจต่างๆ ของแต่ละพระองค์ไว้ด้วยกัน ซึ่งสามารถจัดสร้างเป็นแห่งรวบรวมและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชาติไทยให้อนุชนรุ่นหลังและชาวต่างชาติได้มาเรียนรู้
จากเรื่องราวทั้งหมดที่ผ่านการสังเกตของอาจารย์สมปอง เพียงเพราะอยากเห็นการศึกษาของไทยและการผลิตครูในประเทศไทย ได้ปรับปรุง แก้ไขในส่วนที่ต้องปรับปรุง อะไรที่ดีอยู่แล้วก็คงไว้ เพื่อให้การผลิตครูและการจัดการศึกษาไทยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด


ที่มา manager.gif 

เกร็ดการศึกษาในเวียดนาม


เกร็ด การศึกษา ใน เวียดนาม
โดย ทีมวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)26 มิถุนายน 2549 09:10 น.
        อาจารย์สมปอง ใจดีเฉย อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เขียนถึงการศึกษาวิชาชีพครูในประเทศเวียดนาม โดยตั้งข้อสังเกตดังนี้
       1. ในขณะที่หลักสูตรการผลิตครูในประเทศเวียดนามนั้นเป็นหลักสูตร 4 ปี นักศึกษาต้องเรียนอย่างน้อย 221 หน่วยกิต แต่หลักสูตรการผลิตครูของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นหลักสูตร 5 ปี โดยที่นักศึกษาจะต้องเรียนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 160 หน่วยกิต (แตกต่างกันไปในแต่ละสถาบันการศึกษา) แบ่งเป็นเรียนวิชาศึกษาทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาเอก เป็นเวลา 4 ปี และฝึกสอนอีก 1 ปี ด้วยมุ่งหวังว่านักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูจะมีความรู้ในวิชาเอกเพิ่มขึ้น และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ไปยังลูกศิษย์ได้เป็นอย่างดี
     
       เมื่อเปรียบเทียบการผลิตครูระหว่าง 2 ประเทศ จะเห็นว่า มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง (แนวคิดของนักการศึกษาไทยกับเวียดนามมีความแตกต่างกัน) โดยตั้งข้อสังเกตุว่าทำไมเวียดนามจึงจัดการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตครูได้ทั้ง ๆ ที่ต้องเรียนถึง 221 หน่วยกิต ภายในเวลา 4 ปี นิสิต นักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูในเมืองไทยเดิมเรียนหลักสูตร 4 ปี และเรียนเพียง 140 -144 หน่วยกิตเท่านั้น นักศึกษาไทยมีเวลาว่างมาก บางวันเรียนไม่กี่รายวิชา บางวันไม่มีเรียน (โดยเฉพาะเทอมแรกของปี 4) นักศึกษาเหล่านั้นเอาเวลาว่างไปทำอะไร? ที่ไหน อย่างไร ....
     
       แต่นักศึกษาของเวียดนามใช้เวลาเกือบทั้งหมดอยู่กับการเรียน ในเมือง (ฮานอย) ไม่มีห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ไม่มีโรงภาพยนตร์และสถานที่ท่องเที่ยว รวมไปถึงสิ่งยั่วยวน /ชักจูงเยาวชนไม่มีมากมายเหมือนเมืองไทย ประกอบกับการที่พวกเขาจะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เพราะไม่ต้องการที่จะมีชีวิตที่ยากลำบากเหมือนคนรุ่นพ่อแม่และต้องการมีโอกา สทำงานในวันข้างหน้า นอกจากนี้จะเห็นว่าในปีสุดท้ายของการศึกษาของนักศึกษาครูในเวียดนามจะต้องทำ โครงการวิจัย 10 หน่วยกิต ในขณะที่นักศึกษาครูของไทยทำแค่งานวิจัยในชั้นเรียนหรือ Case Study เท่านั้น (รวมอยู่ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ) ชี้ให้เห็นว่าความเข้มข้นของการศึกษาต่างกันมาก และเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในระดับปริญญาโทของเมืองไทย พบว่า หลักสูตรปริญญาโทของเมืองไทยในหลายสถาบันเป็นหลักสูตรที่ไม่ต้องทำวิจัย บางหลักสูตรทำเพียงสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต บางหลักสูตรทำวิทยานิพนธ์12 หน่วยกิต แต่นักศึกษาครูระดับปริญญาตรีของเวียดนามต้องทำวิจัยถึง 10 หน่วยกิต เป็นผลให้นักศึกษาครูของเวียดนามเมื่อจบการศึกษาไปแล้วสามารถเป็นได้ทั้งนัก การศึกษา นักวิจัยและครูที่มีคุณภาพสูง
     
       2. ในช่วงปิดภาคเรียนของทุกปี คณาจารย์ของแต่ละคณะวิชาจะมีโครงการ/โปรแกรมออกไปช่วยผลิต/จัดทำเอกสาร บทความ และหนังสือประกอบการเรียนให้กับสถาบันการศึกษาในชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลความ เจริญ ซึ่งนักศึกษาวิชาชีพครูได้มีโอกาสในการฝึกประสบการณ์ด้วย ในเมืองไทยมีกิจกรรมลักษณะนี้น้อยมาก กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นค่ายอาสาพัฒนาของนิสิตนักศึกษานั้น
     
       3.ทุกวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปี ถือว่าเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ของผู้ประกอบวิชาชีพครูและนักการศึกษาของเวียดนาม ทางคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์จะจัดกิจกรรมการแข่งขันของนักศึกษาวิชาชีพครูปร ะจำปีขึ้น โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นมีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านวิชาชีพครูทั้งสิ้น เช่น การแข่งขันเกี่ยวกับการวางแผนยุทธศาสตร์การสอนและการจัดการเรียนรู้ การแข่งขันทักษะและความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู การแข่งขันดังกล่าวจะช่วยให้นักศึกษาวิชาชีพครูในชั้นปีสุดท้ายมีความเชื่อม ั่นในตนเองและเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาวิชาชีพครูด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระหว่างการแข่งขันซึ่งจะ เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวนักศึกษาและคณาจารย์ อันจะส่งผลให้เกิดการปรับปรุงการเรียนการสอน/การผลิตนักศึกษาครูให้ดียิ่งขึ ้น สำหรับประเทศไทยมีกิจกรรมในลักษณะนี้หรือไม่ ?







ที่มา manager.gif 

เยือนเวียดนาม ดูการผลิต ครู อาชีพที่ได้รับความนิยม


เยือน เวียดนาม ดูการผลิต ครู อาชีพ ที่ได้รับ ความนิยม
โดย ทีมวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)19 มิถุนายน 2549 09:44 น.
       ป ระเทศเวียดนามถูกปกครองภายใต้ระบบสังคมนิยม และประชาชนผ่านความบอบช้ำทางร่างกายและจิตอย่างสลดหดหู่ ไม่ว่าจะเป็นสงครามเวียดนาม การรวมชาติระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ การถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่นจีน ฝรั่งเศส และอเมริกา รวมทั้งยังทิ้งผลพวงจากสงครามมายังผู้คนรุ่นปัจจุบันโดยเฉพาะความพิการ ด้วยเหตุนี้เองทำให้รัฐบาลเวียดนามต้องเร่งพัฒนาและฟื้นฟูประเทศทุกรูปแบบอย ่างเร่งด่วน และประเทศเวียดนามเองก็เหมือนกับหลายๆ ประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน เพราะเขาเชื่อว่าทรัพยากรบุคคลจะเป็นกลจักรสำคัญในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ได้
       

       จะพบว่า เด็ก เยาวชนและประชาชนเวียดนาม ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากในทุกๆ วันหลังเลิกเรียนเด็กๆ ไม่ว่าจะเรียนชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จะเรียนพิเศษกันเกือบทุกคน จากการพูดคุยกับร้อยเอกมาย ก๊อก เวียต ทหารผ่านศึกษาสงครามเวียดนาม ได้คำตอบว่า การที่คนเวียดนามให้ความสำคัญกับการศึกษามาก เพราะคนเวียดนามเห็นว่า ถ้าลูกๆ ไม่มีความรู้ก็จะไม่มีโอกาสได้ทำงานที่ดี ไม่มีโอกาสได้รับเงินเดือนดีๆ เป็นได้ก็แค่เกษตรกร (ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรถึง 80% ) ตัวอย่างเช่นตัวเขาเองและเพื่อนๆ หลังจากสงครามเลิกก็เลิกเป็นทหาร แต่หางานทำอะไรไม่ได้เพราะไม่มีความรู้ เป็นได้ก็แค่พนักงานรักษาความปลอดภัย ส่วนภรรยาและพ่อแม่ก็ทำไร่ ทำนา เป็นความน้อยใจอย่างยิ่งที่ทหารอย่างพวกเขาที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในสมรภูมิรบ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการรวมชาติเวียดนามได้ แต่ในวันนี้กลับไม่มีคุณค่าแล้ว เพราะประเทศกำลังพัฒนา มีการก่อสร้าง มีหน่วยงานและบริษัทต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย หน่วยงานเหล่านี้ต้องการบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้าน ดังนั้นคนเวียดนามจึงต้องการให้ลูกๆ ได้รับการศึกษาจะได้ไม่เป็นเช่นคนรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และเด็กๆ เองก็คิดเหมือนพ่อแม่เช่นกัน ส่งผลให้เด็กๆ ในเวียดนามขวนขวายหาความรู้กันอย่างมาก เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ และจบออกมาทำงานดีๆ การสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยเวียดนามจึงเข้มข้นไม่ต่างจากเมืองไทยนัก
       
       เมื่อไปดูการผลิตครูในเวียดนาม โดยใช้กรณีศึกษา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม และฮานอย พบว่าอาชีพหนึ่งที่คนเวียดนามอยากให้ลูกๆ ประกอบอาชีพนั่นก็คือ “อาชีพครู”ต่างจากเมืองไทยราวฟ้ากับดิน การผลิตครูในคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม เกิดความร่วมมือระหว่างคณะวิชา/วิทยาลัยต่างๆ ของมหาวิทยาลัยกับคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ซึ่งคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้สอนใน 6 วิชาเอกได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ และอักษรศาสตร์ โดยนักศึกษาที่เรียนในคณะนี้ต้องเรียนเป็นระยะเวลา 4 ปี หน่วยกิจรวมอย่างน้อย 221 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาการศึกษาทั่วไป จำนวน 63 หน่วยกิต วิทยาศาสตร์พื้นฐานจำนวน 107 -110 หน่วยกิต และวิชาชีพครูจำนวน 48 หน่วยกิต ซึ่งวิชาชีพครูนั้นประกอบด้วย วิชาพื้นฐานการศึกษาจำนวน 22 หน่วยกิต โครงงานวิจัย จำนวน 10 หน่วยกิต การฝึกสอนจำนวน 6 หน่วยกิต โดย 3ปีแรกของการเรียนนักศึกษาจะต้องแยกไปเรียนวิชาเอกที่คณะวิชา /วิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยาลัยวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จากนั้นในปีสุดท้ายพวกเขาจะมาเรียนที่คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ซึ่งส่วนใหญ่ จะเกี่ยวข้องกับวิชาจิตวิทยา วิธีสอน วิธีจัดการเรียนรู้ เทคโนโลยีการศึกษา การจัดการและการเป็นผู้นำทางการศึกษา การอุดมศึกษา การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน
       
       ยิ่งได้ดูหลักสูตรการผลิตครูในประเทศเวียดนามแม้จะเรียนด้วยหลักสูตร 4 ปี แต่นักศึกษาต้องเรียนอย่างน้อย 221 หน่วยกิต ขณะที่หลักสูตรการผลิตครูของประเทศไทยในปัจจุบันเรียนด้วยหลักสูตร 5 ปี โดยนิสิต นักศึกษาต้องเรียนอย่างน้อย 160 หน่วยกิต (แตกต่างกันไปในแต่ละสถาบัน)แบ่งเป็นเรียนวิชาศึกษาทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาเอกเป็นเวลา 4 ปี และฝึกสอนอีก 1 ปี ด้วยมุ่งหวังว่านิสิต นักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูจะมีความรู้ในวิชาเอกเพิ่มขึ้น และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ไปยังลูกศิษย์ได้ เมื่อเปรียบเทียบการผลิตครูของทั้ง 2 ประเทศ จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ที่มา manager.gif 

ระบบการศึกษาในเวียดนาม



ระบบการศึกษา-เวียดนาม
การศึกษาของเวียดนาม
ปัจจุบันเวียดนามแบ่งลักษณะของการจัดการศึกษาไว้ 5 ลักษณะ คือ
 
1.การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (Pre-School Education)
ประกอบด้วยการเลี้ยงดูเด็ก สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี และอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี 
2.การศึกษาสามัญ(5-4–3)
• ระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ 5 ปี ชั้น 1-5 
• ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นคือชั้น 6-9
• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายคือชั้น 10-12
3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ  มีเทียบเคียงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย 
4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา  แบ่งเป็นระดับอนุปริญญา (Associate degree) และระดับปริญญา
5. การศึกษาต่อเนื่อง  เป็นการศึกษาสำหรับประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพ

 การศึกษาสามัญ 12 ปี (General Education) ของเวียดนามนั้นเวียดนามมีวัตถุประสงค์ที่จะ ให้ประชาชนได้มีวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีความสามารถในด้านอาชีพ

 ในอดีตการศึกษาสามัญของเวียดนามมีเพียง 10 ปีเท่านั้น และไม่มีอนุบาลศึกษามาก่อนจนถึงปีการศึกษา 2532 - 2533 จึงมีการศึกษาถึงชั้นปีที่ 9 ทั้งประเทศ ซึ่งได้เรียกการศึกษาสามัญ 9 ปี ดังกล่าวนี้ว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education) และเมื่อได้ขยายไปถึงปีที่ 12 แล้วจึงได้เรียกการศึกษาสามัญ 3 ปีสุดท้ายว่า มัธยมชั้นสูง (Upper Secondary School) ปี 2535-2536 ระบบการศึกษาสามัญในเวียดนามจึงกลายเป็นระบบ 12 ชั้นเรียนทั้งประเทศ โดยเด็กที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 6

 เมื่อเวียดนามได้ใช้ระบบการศึกษาเป็น 12 ปีแล้ว จำนวนนักเรียนในทุกระดับชั้นยังมีน้อย ดังนั้นปี 2534 สภาแห่งชาติของเวียดนามจึงได้ออกกฎหมายการกระจายการศึกษาระดับประถมศึกษา (Law of Universal Primary Education) ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกว่าด้วยการศึกษาของเวียดนาม

การเปรียบเทียบการศึกษาของประเทศไทยกับประเทศเวียดนาม
การศึกษาในเวียดนามจะเห็นได้ว่าปัจจุบันกำลังมีการปฎิรูปการศึกษาเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่ก็มีหลายอย่างที่น่าศึกษาจากประเทศนี้ นั่นก็คือ
       1.ในขณะที่หลักสูตรการผลิตครูในประเทศเวียดนามนั้นเป็นหลักสูตร 4 ปี  แต่หลักสูตรการผลิตครูของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นหลักสูตร 5 ปี แบ่งเป็นเรียนวิชาศึกษาทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาเอก เป็นเวลา 4 ปี และฝึกสอนอีก 1 ปี โดยหวังว่านักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูจะมีความรู้ในวิชาเอกเพิ่มขึ้น และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ไปยังลูกศิษย์ได้เป็นอย่างดี 
        
       เมื่อเปรียบเทียบการผลิตครูระหว่าง 2 ประเทศ จะเห็นว่า มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง (แนวคิดของนักการศึกษาไทยกับเวียดนามมีความแตกต่างกัน) โดยตั้งข้อสังเกตุว่าทำไมเวียดนามจึงจัดการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตครูได้ทั้งๆ ที่ต้องเรียนถึง 221 หน่วยกิต ภายในเวลา 4 ปี นิสิต นักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูในเมืองไทยเดิมเรียนหลักสูตร 4 ปี และเรียนเพียง 140 -144 หน่วยกิตเท่านั้น นักศึกษาไทยมีเวลาว่างมาก บางวันเรียนไม่กี่รายวิชา บางวันไม่มีเรียน (โดยเฉพาะเทอมแรกของปี 4) นักศึกษาเหล่านั้นเอาเวลาว่างไปทำอะไร? ที่ไหน อย่างไร .... 
        
       แต่นักศึกษาของเวียดนามใช้เวลาเกือบทั้งหมดอยู่กับการเรียน ในเมือง (ฮานอย) ไม่มีห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ไม่มีโรงภาพยนตร์และสถานที่ท่องเที่ยว รวมไปถึงสิ่งยั่วยวน /ชักจูงเยาวชนไม่มีมากมายเหมือนเมืองไทย ประกอบกับการที่พวกเขาจะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เพราะไม่ต้องการที่จะมีชีวิตที่ยากลำบากเหมือนคนรุ่นพ่อแม่และต้องการมีโอกาสทำงานในวันข้างหน้า นอกจากนี้จะเห็นว่าในปีสุดท้ายของการศึกษาของนักศึกษาครูในเวียดนามจะต้องทำโครงการวิจัย 10 หน่วยกิต 

 ชี้ให้เห็นว่าความเข้มข้นของการศึกษาต่างกันมาก และเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในระดับปริญญาโทของเมืองไทย พบว่า หลักสูตรปริญญาโทของเมืองไทยในหลายสถาบันเป็นหลักสูตรที่ไม่ต้องทำวิจัย บางหลักสูตรทำเพียงสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต บางหลักสูตรทำวิทยานิพนธ์12 หน่วยกิต แต่นักศึกษาครูระดับปริญญาตรีของเวียดนามต้องทำวิจัยถึง 10 หน่วยกิต เป็นผลให้นักศึกษาครูของเวียดนามเมื่อจบการศึกษาไปแล้วสามารถเป็นได้ทั้งนักการศึกษา นักวิจัยและครูที่มีคุณภาพสูง 
        
       2.ในช่วงปิดภาคเรียนของทุกปี คณาจารย์ของแต่ละคณะวิชาจะมีโครงการ/โปรแกรมออกไปช่วยผลิต/จัดทำเอกสาร บทความ และหนังสือประกอบการเรียนให้กับสถาบันการศึกษาในชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลความเจริญ ซึ่งนักศึกษาวิชาชีพครูได้มีโอกาสในการฝึกประสบการณ์ด้วย ในเมืองไทยมีกิจกรรมลักษณะนี้น้อยมาก กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นค่ายอาสาพัฒนาของนิสิตนักศึกษานั้น 
        
       3.ทุกวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปี ถือว่าเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ของผู้ประกอบวิชาชีพครูและนักการศึกษาของเวียดนาม ทางคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์จะจัดกิจกรรมการแข่งขันของนักศึกษาวิชาชีพครูประจำปีขึ้น โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นมีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านวิชาชีพครูทั้งสิ้น เช่น  การแข่งขันทักษะและความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู การแข่งขันดังกล่าวจะช่วยให้นักศึกษาวิชาชีพครูในชั้นปีสุดท้ายมีความเชื่อมั่นในตนเองและเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาวิชาชีพครูด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระหว่างการแข่งขันซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวนักศึกษาและคณาจารย์ อันจะส่งผลให้เกิดการปรับปรุงการเรียนการสอน/การผลิตนักศึกษาครูให้ดียิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยมีกิจกรรมในลักษณะนี้หรือไม่ ?

    จะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาวิชาชีพครูในเวียดนามนั้น ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้มาก เพราะถือว่าการเป็นครูอาจารย์จะต้องมีความรู้ที่มากพอที่จะไปสอน และเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ได้ เพราะสิ่งที่ศิษย์จะเรียนรู้นั้นมิใช่เฉพาะวิชาที่ครูมอบให้เท่านั้น แต่รวมไปถือแบบอย่างที่ครูปฏิบัติกันด้วย


การศึกษาในความคิดของคนเวียดนาม
การศึกษาคือสิ่งสำคัญสำหรับคนเวียดนาม

ถ้าจะว่ากันไปแล้ววิธีการคิดของคนไทยและคนเวียดนามคงไม่ต่างกันเท่าไหร่ หากเทียบกับคำขวัญ (slogan) ของคนไทยที่เคยอบรมสั่งสอนลูกหลานในสมัยก่อน และยังใช้ได้มาจนถึงปัจจุบันว่า รากฐานของบ้านคืออิฐ รากฐานของชีวิตคือการศึกษาเพราะคนเวียดนามส่วนใหญ่เชื่อว่า การศึกษาจะช่วยสร้างคนให้เป็นคน มีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ และมีทุกอย่างตามที่ตนเองต้องการหลังจากที่เด็กเวียดนามถือกำเนิดมา ครอบครัวเวียดนามจะคิดถึงการศึกษาของลูกตนโดยภาพรวม และในขณะเดียวกันก็จะให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจของครอบครัวตนด้วย เพราะเศรษฐกิจของครอบครัวถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะทำให้สามารถเลี้ยงดู และส่งเสียลูกของตนได้เล่าเรียนหลังจากที่เติบโตขึ้น ดังนั้น ในขั้นแรกจึงจำเป็นต้องหาเงินมาจุนเจือครอบครัว คำนึงถึงการเจริญเติบโตของลูก และสุขภาพของลูกเพื่อจะเริ่มก้าวสู่การเรียนในระดับอนุบาลในภายภาคหน้า

จากการที่ประชากรเวียดนามประมาณ 80% ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และทุกคนทราบกันดีว่า อาชีพดังกล่าวเป็นอาชีพที่ต้องประสบกับความยากลำบาก ต้องดิ้นรนต่อสู้ หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ไม่มีความสะดวกสบาย มีแต่ความยากแค้นลำเค็ญ ดังนั้น ในปัจจุบัน ชาวเวียดนามส่วนใหญ่จึงไม่ต้องการให้ลูกของตนต้องประสบความยากลำบากเหมือนตน อยากให้ลูกมีชีวิตที่ดี มีความสะดวกสบาย และมีหน้ามีตาในสังคม ซึ่งวิธีการที่จะทำให้ลูกของตนพ้นจากความยากลำบากได้นั้น มีวิธีการเดียวและเป็นวิธีการที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ สร้างรากฐานการศึกษาให้แก่ลูก ในภาษาเวียดนาม มีคำกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงความคิดของคนเวียดนามในการเลี้ยงดูลูกซึ่งใช้กัน มาจนถึงปัจจุบันคือ “Ttcvì con cái (เติ๊ทก่า หวี่ กอนก๋าย) หมายถึง ทุกอย่างก็เพื่อลูก ซึ่งตีความได้ว่า พ่อแม่สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้เพื่อลูก ไม่ว่าตนเองจะลำบากหรือเหน็ดเหนื่อยแค่ไหนก็ตาม พ่อแม่ก็สามารถยอมเหนื่อย และยอมอดแทนลูกได้ บางบ้านถึงขั้นต้องลดค่าใช้จ่ายเรื่องอาหาร ยอมอดมื้อกินมื้อ เพื่อนำเงินไปลงทุนเพื่อการศึกษาของลูก

สำหรับลูกชาวนาหรือลูกเกษตรกรผู้ยากไร้นั้น มีความคิดกันว่า ถ้าให้ลูกประกอบอาชีพ เกตรกรรมหรือเป็นชาวนาเช่นเดียวกับตน ลูกจะไม่สามารถพ้นไปจากห้วงวิถีของความยากลำบาก ความแร้นแค้น ความลำเค็ญไปได้ ดังนั้น จึงยิ่งต้องอดทนและทนต่อความยากลำบากอย่างหนักเพื่อส่งเสียให้ลูกเรียนเพื่อ ความก้าวหน้าและความสำเร็จของลูกในอนาคต เมื่อส่งเสียลูกเรียนแล้ว และลูกสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้นั้น ยิ่งจะเป็นเกียรติและเป็นศักดิ์ศรีของครอบครัวและวงศ์ตระกูล เป็นหน้าเป็นตาของพ่อแม่ พ่อแม่สามารถพูดกับคนอื่นๆ รวมทั้งญาติพี่น้องได้อย่างไม่อายปากว่า ฉันสามารถส่งเสียลูกฉันเรียน และลูกของฉันมีดีพอที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้อย่างลูกชายของเจ้าของบ้านที่ผู้เขียนพักอาศัยด้วย แม้ว่าครอบครัวของเขาจะไม่ใช่ครอบครัวชาวนา กล่าวคือ สามีเป็นตำรวจ ส่วนภรรยาเป็นพนักงานทำความสะอาดห้องพักให้กับที่พักรับรองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยต่างชาติ* ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณแบ๊คควาหรือบริเวณที่อยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยที่สอนทาง ด้านวิศวรรมศาสตร์ แต่สามีภรรยาคู่นี้มีความเป็นชนบทมากกว่าในเมือง กล่าวคือ ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ในเมืองหลวงเคยอยู่ในชนบทมาก่อน และพ่อแม่ของเขาทั้งสองก็ประกอบอาชีพเกตรกรรมซึ่งมีความยากลำบาก ฐานะไม่ได้ดีมากนัก ดังนั้น เมื่อลูกชายสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ก็จัดงานเลี้ยงฉลองให้ลูกชายอย่างใหญ่โต โดยจัดร่วมกับบรรดาญาติพี่น้องในชนบทของภรรยาซึ่งผู้เขียนก็ได้รับเชิญให้ไป ร่วมงานด้วย เพราะกล่าวได้ว่าในบรรดาลูกๆ ของพี่น้องสายเลือดเดียวกันของภรรยา ลูกชายคนนี้เป็นคนแรกของตระกูลที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ดังนั้น สามีภรรยา โดยเฉพาะภรรยาถึงกับดีใจมากๆ ที่ลูกชายมีวันนี้ได้

นอกจากนั้น คนเวียดนามหลายๆ คนยังมีการเปรียบเทียบอาชีพของตนกับอาชีพของลูกหลานที่เกิดมาในรุ่นหลัง ยิ่งถ้าหากว่าพ่อแม่เป็นชาวนา แต่ลูกได้ดิบได้ดีเป็นถึงข้าราชการ ยิ่งจะเป็นผลดีในการผลักดันเชื้อสายและวศ์ตระกูลของตนให้สูงขึ้น ไม่ใช่ยากจนหรือตกต่ำลง ผู้คนก็จะนับหน้าถือตา และให้เกียรติในสังคมในฐานะที่สามารถทำให้ลูกเป็นอภิชาตบุตร (บุตรที่ดีกว่าหรือเหนือกว่า ตระกูล หรือบุตรที่มีคุณสมบัติสูงกว่าตระกูล) ได้

วิธีการเลี้ยงลูกของคนเวียดนามที่สอดคล้องกับการศึกษา 
จากการที่ผู้เขียนได้อยู่ที่บ้านของคนเวียดนามโดยตรง รวมทั้งได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนชาวเวียดนามหลายๆ คนและหลากหลายพื้นที่ ผู้เขียนเห็นว่า การอบรมเลี้ยงดูลูกของคนเวียดนามจะเน้นเรื่องของการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ที่เห็นได้ชัด หลายๆ บ้านจะบังคับให้ลูกเรียนเป็นหลัก โดยบางครั้งไม่ได้สนใจหรือมองว่าลูกของตนมีความสามารถที่จะเรียนในระดับสูงๆ ได้เพียงใด หรือลูกมีความถนัดในด้านใด แต่จะเน้นให้ลูกต้องเรียนเก่งไว้ก่อน โดยมักจะเอาไปเปรียบเทียบกับเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องเป็นส่วนใหญ่ หากลูกทำไม่ได้ก็จะว่ากล่าวค่อนข้างแรง เช่น “Ngunhuchó” (งู ญือ จ๋อ) หมายถึง โง่เหมือนหมา, “Ngunhưbò” (งู ญือ บ่อ) หมายถึง โง่เหมือนวัว โดยไม่ได้สนใจว่าลูกจะเสียใจหรือน้อยใจหรือไม่ แต่พวกเขาจะมองว่า ยิ่งว่ากล่าวประชดประชันแบบนี้จะมีผลทำให้ลูกเกิดความคิดที่จะสู้หรือมีใจ สู้ เพื่อคราวต่อไปจะต้องเรียนให้เก่งขึ้น หรือทำให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม และจะไม่โดนพ่อแม่ดุด่าว่าโง่อีกต่อไป บางบ้านที่ทุ่มเทให้กับลูกมากๆ ถึงขั้นเสียใจหรือจะเป็นจะตายกับผลการเรียนของลูก หากว่าตนเองอบรมสั่งสอนและบังคับให้ลูกเรียนแล้วแต่ลูกกลับทำไม่ได้อย่างที่ ตนเองต้องการ ก็ยิ่งทำให้พ่อแม่เสียใจและไม่มีความสุขมากขึ้น ดังนั้น จึงยิ่งจะหาวิธีการหรือคิดหาวิธีใหม่ที่ทำอย่างไรที่จะต้องให้ลูกเรียนเก่งๆ เช่น หาติวเตอร์หรือครูพิเศษมาสอนที่บ้าน หรือส่งลูกไปเรียนพิเศษในสถานที่ที่มีชื่อเสียง แม้ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายมากเท่าใด พ่อแม่ก็ยอม







ภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ บรรดาผู้ปกครองจำนวนมากกำลังเป็นห่วงเรื่องของคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนนานาชาติเพราะหลายๆ แห่งยังคงขาดความพร้อมในด้านหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในโรงเรียน.

หลายๆ บ้านมักจะเข้มงวดกวดขันเรื่องการเรียนของลูก อย่างเช่นบ้านที่ผู้เขียนอาศัยอยู่ ภรรยาเจ้าของบ้านจะตรวจสอบการเรียนของลูกทุกวัน และเวลาสองทุ่มตรงของทุกวัน ลูกจะต้องนั่งประจำที่โต๊ะเพื่อทำการบ้านและอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัว สำหรับการเรียนในวันรุ่งขึ้น ภรรยาของเจ้าของบ้านจะถามลูกทุกวันว่า ทำการบ้านวิชานั้นวิชานี้เสร็จหรือยัง วันนี้ไปเรียนพิเศษกับคุณครูคนนี้หรือไม่ อย่างไร ครูให้การบ้านอะไรมาบ้าง นอกจากนั้น หากลูกไม่ทำตามที่ตนสั่งก็จะใช้ไม้เรียวในการอบรมสั่งสอน เพราะพวกเขาถือปฏิบัติตามคำพังเพยของเวียดนามที่สอนกันมาแต่โบราณว่า “Yêuchoroichovt. Ghétchongtchobùi. (เอียว จอ ซอย จอ หวอด แก๊ท จอ หง็อท จอ บุ่ย) แปลตามรูปคำหมายถึง รักต้องให้ไม้เรียว เกลียดต้องให้ความหวานและความมันความหวานและความมันตรงนี้ หมายถึงรสชาติอาหารที่มีความเอร็ดอร่อยได้รสชาติ ซึ่งตีความได้ว่า ถ้ารักลูกก็ต้องตีลูก ถ้าเกลียดลูกก็ต้องเอาเอาเอาใจหรือตามใจลูก สำหรับคนเวียดนาม การตามใจลูกมากๆ จะส่งผลให้ลูกเสียคนได้ง่าย ซึ่งพวกเขากลัวในเรื่องนี้กันมาก และพยายามที่จะหาวิธีการว่า ลงทุนให้ลูกเรียนแล้วจะอบรมสั่งสอนลูกอย่างไรเพื่อไม่ให้ลูกของตนเสียคน

ระบบการศึกษาของเวียดนาม
การศึกษาของเวียดนามในอดีต นำรูปแบบมาจากระบบการศึกษาของสหภาพโซเวียตรัสเซีย และต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ ของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม หากกล่าวถึงการศึกษาโดยภาพรวม เวียดนามยังได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศสด้วย เนื่องจากเคยตกอยู่ใต้อาณานิคมของสองประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะอิทธิพลในเรื่องของการใช้ตัวหนังสือหรืออักษรที่ใช้ในการเรียน กล่าวคือ ได้รับอิทธิพลจากอักษร “Hán” (หาน) หรือที่คนไทยนิยมเรียกกันว่า ฮั่นจากจีน ซึ่งปัจจุบันนี้คำศัพท์ต่างๆ ในภาษาเวียดนามประมาณ 80% ยืมมาจากคำศัพท์ในภาษาหานของจีน และตัวอักษรโรมันที่เวียดนามใช้กันปัจจุบันที่เรียกว่า “Qucng (ก๊วก หงือ) นั้น ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส เพราะหลังจากที่เวียดนามตกอยู่ใต้อาณานิคมของฝรั่งเศสนั้น ฝรั่งเศสได้ประกาศให้เวียดนามใช้ตัวอักษรก๊วกหงือเป็นอักษรทางการ และบังคับให้ใช้ในการเรียนการสอนตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ ของเวียดนามทั่วประเทศ

ในส่วนของแนวคิดต่างๆ ที่ปรากฏในแผนการเรียนการสอนของเวียดนามนั้น ถือว่าได้รับอิทธิพลจากสหภาพโซเวียตรัสเซียสูงมาก เพราะหลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยของเวียดนามนั้นมีวิชา บังคับที่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัยต้องเรียน นั่นคือ วิชาการเมืองซึ่งเน้นลัทธิสังคมนิยมและการปกครองประเทศแบบสังคมนิยมเป็น หลัก วิชาปรัชญา ซึ่งเน้นแนวคิดของมาร์ก เลนิน และวิชาแนวคิดของโฮจิมินห์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของมาร์ก เลนินอีกทีหนึ่ง ในปัจจุบัน วิชาต่างๆ ดังกล่าว นักศึกษาเวียดนามก็ยังต้องเรียนกันอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องของการเรียนนั้น คนเวียดนามได้ซึมซับแนวคิดของมาร์ก เลนินเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแนวคิดที่ว่า “Hchchc. Hcna, hcmãi. (ห็อก ห็อก ห็อก ห็อก เหนือ ห็อก หมาย) หมายความว่า เรียน เรียน เรียน เรียนต่อไป เรียนตราบชั่วนิจนิรันดร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวมีอิทธิพลต่อเรื่องการศึกษาของชาวเวียดนาม เป็นอย่างสูง เพราะเชื่อว่าทุกคนต้องเรียน และการเรียนไม่มีวันสิ้นสุดสำหรับคนเวียดนาม แม้ว่าจะเรียนจบได้ใบปริญญาบัตรแล้ว ก็ยังต้องเรียนกันต่อไป เรียนจนกว่าชีวิตจะหาไม่

TrnKiu (2002) ได้อธิบายการจัดระบบการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของ เวียดนามว่า การศึกษาภาคบังคับในโรงเรียนของเวียดนามกำหนดการเรียนภาคบังคับเอาไว้ 12 ปี โดยจัดเป็น 3 (5-4-3) ระดับ ดังนี้

- ระดับ 1 เรียน 5 ปี คือ เกรด 1, 2, 3, 4 และ 5
- ระดับ 2 เรียน 4 ปี คือ เกรด 6, 7, 8 และ 9
- ระดับ 3 เรียน 3 ปี คือ เกรด 10, 11 และ 12

เมื่อเทียบกับการศึกษาภาคบังคับของไทยมีความแตกต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ การศึกษาภาคบังคับของไทยจะเป็นระบบ 6-3-3 แต่ของเวียดนามจะเป็น 5-4-3 ถ้าเทียบกับการศึกษาของไทย ระดับ 1 ก็คือ ระดับประถมศึกษา เวียดนามเรียน 5 ปี แต่ไทยจะเรียน 6 ปี (ป.1-6) ระดับ 2 หมายถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เวียดนามเรียน 4 ปี แต่ไทยจะเรียน 3 ปี (ม.1-3) และระดับ 3 หมายถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เวียดนามเรียน 3 ปี และไทยก็เรียน 3 ปี (ม.4-6) เช่นกัน

สำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาก็ไม่ต่างจากที่เมืองไทยเท่าใดนัก เพราะมีการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเช่นกัน แต่จะต่างกันเล็กน้อยตรงที่หากใครที่ความสามารถไม่ถึงขั้นที่จะเรียน มหาวิทยาลัยได้ก็จะเลือกเรียนระดับ caođẳng (กาว ดั่ง) ซึ่งอาจจะเทียบได้กับระดับอนุปริญญาของไทย ขั้นกาว ดั่งที่เวียดนามจะเรียน 3 ปี และระดับ trungcp (จุงเกิ๊บ) หรือสายวิชาชีพ เรียน 2 ปี นอกจากนั้น หลังระดับอุดมศึกษาก็มีระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งแยกเป็นระดับปริญญาโท และปริญญาเอกเหมือนไทย 



ปัญหาจากวิธีการศึกษาของคนเวียดนามในปัจุบัน
แม้ว่าครอบครัวของเวียดนามเกือบทุกครอบครัว จะให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการลงทุนเรื่องการศึกษาของลูกอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการศึกษาของเวียดนามก็ยังประสบปัญหาอยู่ เนื่องจากหลักสูตรการเรียนของเวียดนามตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับ มหาวิทยาลัยจะเน้นการเรียนการสอนแบบให้ผู้เรียนต้องเรียนแบบ Hcvt. (ห็อก แหว็ต) แปลว่า เรียนแบบนกแก้วหมายถึง เรียนแบบท่องจำ ถ้าเทียบแล้วก็เหมือนกับไทยเราในสมัยก่อนที่เน้นให้ผู้เรียนท่องจำแบบนกแก้ว นกขุนทอง แต่ไม่สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ประมาณว่าท่องจำเก่งอย่างเดียว แต่ถ้าให้ปรับใช้หรือถามคำถามที่ให้ตอบแบบไม่ได้ให้ตอบตรงประเด็น แต่ให้ตอบแบบการนำไปใช้ ผู้เรียนจะไม่สามารถตอบคำถามได้เลย เพื่อนเวียดนามบางคนบอกผู้เขียนว่า การที่นักเรียนเวียดนามได้รับรางวัลคณิตศาสตร์โอลิมปิคนั้น เป็นเพราะว่านักเรียนเหล่านั้นท่องจำเก่ง จำสูตรคณิตศาสตร์ได้แม่นยำทุกสูตร ถ้าใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษก็จะเรียกว่า จำกันได้เป็นแพ็ทเทิร์นเลย และคณิตศาสตร์นั้นได้ซึมซับอยู่ในตัวของคนเวียดนามมานาน เนเริ่มตั้งแต่เมื่อเวียดนามเปิดประเทศและเริ่มทำการค้าขายเป็นหลัก ดังนั้น การเรียนการสอนแบบคณิตคิดเร็วจึงถูกสั่งสมอยู่ในความคิดของเวียดนามตามรูป แบบของการเรียนแบบท่องจำ กล่าวคือต้องแม่นยำในตัวเลขและข้อมูลเป็นหลักด้วย

อย่างไรก็ตาม การเรียนแบบท่องจำให้เก่งนั้นอาจจะได้ผลดีในบางด้าน อย่างเช่นการเรียนคณิตศาสตร์ของคนเวียดนาม เป็นต้น แต่อาจจะไม่สามารถเอาไปใช้ในการเรียนในสาขาอื่นๆ เพราะในปัจจุบันเกิดปัญหาว่า นักศึกษาที่เรียนจบมหาวิทยาลัยและได้คะแนนสูงๆ นั้น เก่งเพราะท่องจำเก่งอย่างเดียว แต่เมื่อเริ่มต้นทำงาน ไม่สามารถที่จะทำงานได้ ต้องเริ่มต้นใหม่ ต้องเรียนรู้ใหม่ เพราะไม่สามารถนำความรู้ที่ตัวเองได้รับในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัยมาปรับใช้ ในการทำงาน รวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวันได้ ปัญหาดังกล่าว เกิดมาจาก การที่หลักสูตรการเรียนของเวียดนามยังเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏบัติ หรืออาจจะมีการฝึกปฏิบัติ แต่ปฏิบัติค่อนข้างน้อย ดังนั้น เมื่อเรียนทฤษฎีเป็นหลัก ผู้เรียนจึงต้องเรียนแบบท่องจำเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่สามารถอธิบายได้ว่า ข้อเท็จจริงของเนื้อหาที่เรียนนั้นคืออะไร เพื่อนเวียดนามของผู้เขียนให้ข้อมูลว่า การเรียนแบบท่องจำหรือห็อกแหว็ตนี้ เรียกได้ว่าเป็นโรคร้ายชนิดหนึ่งของการศึกษาของเวียดนามในปัจจุบันนี้เลยก็ ว่าได้ แม้ว่ากระทรวงการศึกษาและการฝึกอบรมของเวียดนามจะรับทราบปัญหาดังกล่าวแต่ก็ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ นักศึกษาหลายคนที่เรียนจบมหาวิทยาลัยไม่สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนใน สาขาของตนไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเสียเวลาเพื่อไปเรียนปริญญาตรีอีกใบเพื่อให้สอดคล้องกับการทำ งานของตน แทนที่จะยกระดับของตนโดยการเรียนปริญญาโท แต่กลับต้องใช้เวลาเรียนปริญญาตรีเพิ่มอีกหนึ่งใบในอีกสาขาวิชาหนึ่ง

ปัญหาข้างต้นมีส่วนมาจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ตั้งแต่ในวัยเด็ก ในขณะที่เรียนระดับประถมศึกษา กล่าวคือ เน้นสอนให้ลูกเรียนเก่งและได้คำแนนสูงๆ แต่ไม่ได้สนใจในเรื่องของการนำไปใช้ ความคิดดังกล่าวได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่สมัยศักดินา เพราะมีความคิดกันว่าต้องเรียนเก่งเพื่อจะได้ประกอบอาชีพรับราชการ เป็นเจ้าคนนายคน และเน้นความร่ำรวยเป็นหลัก ความคิดดังกล่าวได้ส่งผลมาถึงปัจจุบันคือ เรียนเก่งเพื่อจะได้ทำงานดีๆ และหาเงินใช้ได้ เนื่องจากในปัจจุบัน หน่วยงานต่างๆ ในเวียดนามหากคนเวียดนามที่ไปสมัครงานไม่ใช่ Con ôngcháu cha (กอน อง เจ๋า จา) หมายถึง ลูกท่านหลานเธอ โอกาสที่จะได้ทำงานดีๆ ได้รับเงินเดือนสูงๆ มีค่อนข้างน้อยหากได้คะแนนสะสมหลังจากที่สำเร็จการศึกษาไม่ค่อยดี ดังนั้น ในปัจจุบัน คนเวียดนามจึงเน้นให้ลูกของตนเรียนให้เก่งๆ ให้ได้คะแนนสูงๆ เพื่อที่จะหางานทำได้ เพราะมีความคิดดังนี้

1. เน้นเรื่องของความเก่ง แต่ไม่ได้เน้นเรื่องความรู้ที่ได้รับหลังจากที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว
2. คิดถึงผลประโยชน์ในเรื่องของการได้เงินเดือน มากกว่าความรู้ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาสังคมและองค์กร
3. ไม่ได้สนใจเรื่องการมีความรู้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือในสาขาที่ตนเองจบมา
4. ขอให้เรียนสูงไว้ก่อน แต่ไม่ได้สนใจบทบาทหรือหน้าที่ที่ตนจะต้องรับผิดชอบต่อไปในสังคมและองค์กร

ภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนแห่งหนึ่งของเวียดนาม โดยในปัจจุบันนี้ เวียดนามกำลังมีปัญหาอย่างมากเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาในหลายๆ ระดับ รวมทั้งคุณภาพของโรงเรียนนานาชาติในหลายๆ แห่งด้วย. 


เนื่องจากเวียดนามยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนภาคปฏิบัติเท่าที่ควร ดังนั้น จึงก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาสำหรับผู้เรียนที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยใน เวียดนาม ดังนี้

1. ไม่สามารถนำทฤษฎีที่ได้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ
2. ไม่สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ไม่ยอมรับความจริงเมื่อพ่ายแพ้หรือไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากในช่วงที่เรียนต้องเรียนให้เก่งและเอาชนะเพื่อนฝูงให้ได้ ทำให้ไม่รู้จักคำว่าพ่ายแพ้
3. ไม่สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือทำงานร่วมกับคนอื่นได้ เพราะในช่วงที่เรียนขาดการปฏิบัติ เพราะการเรียนเน้นการท่องจำ ครูผู้สอนมอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่มก้อนกับเพื่อนในห้องเรียนน้อย
4. ขาดทักษะในการบรรยายหรืออภิปรายต่อหน้าที่ชุมชน เพราะเน้นการเรียนแบบท่องจำและเรียนคนเดียวเป็นหลัก

ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ได้หมายความว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเวียดนามไม่ได้ให้ ความสำคัญหรือวิเคราะห์ประเด็นปัญหา หากแต่กำลังพิจารณาว่าจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร และคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังกล่าวให้บรรลุผลได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ อาจจะต้องรออีกประมาณสิบปีหรืออาจจะยี่สิบปีที่แนวคิดและระบบการศึกษาของ เวียดนามจะมีการเปลี่ยนแปลง และสามารถปรับมาใช้ให้เข้ากับยุคสมัยได้



ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง